คุณกับหัวหน้าอยู่ในลักษณะผู้นำและผู้ตามแบบไหน ?

แน่นอนว่าในทุกองค์กร เราจะต้องพบปะผู้คนมากมาย และหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือคนที่เราทำงานด้วย โดยเฉพาะหัวหน้าเรา หรือลูกน้องของเราในกรณีที่เราอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าคนแล้ว วันนี้ผมจะพาไปดูลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามที่ไม่มีประสิทธิภาพ 4 ประการครับ

ลองตั้งใจอ่านนะ แล้วลองเลือกดูว่าเรากับหัวหน้า หรือกับลูกน้องเรา อยู่ในลักษณะของความสัมพันธ์แบบไหนครับ

  1. ลูกพี่ก็หยิ่ง ลูกน้องก็หยิ่ง ต่างคนต่าง EGO ตัวพ่อ
    ความสัมพันธ์แบบนี้แทนที่จะร่วมมือกันทำงาน กลับต้องมาคอยเอาชนะกัน เถียงกันเพื่อแสดงให้อีกฝ่ายเห็นถึงความเก่งของตัวเอง
    ตัวอย่าง “เจ้านายและลูกน้องที่หยิ่งเกินไปที่จะพูดว่า “ผมขอโทษ””
  2. ผู้นำที่เต็มไปด้วยความกลัว + ผู้ตามที่เต็มไปด้วยความกลัว
    วันๆพวกเขาเหล่านี้จะคอยมองหาสัญญาณเตือน ว่ามุมมืดแห่งความกลัวในใจเค้า จะโดนคนอื่นเปิดประตูส่องแสงสว่างเข้ามาเมื่อไหร่
    ทำให้เกิดความขี้สงสัย และไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลให้อีกฝ่าย
    ตัวอย่าง “เจ้านายที่กลัวว่าจะเสียตำแหน่งงาน และผู้ตามที่กลัวว่าหากเจ้านายรู้ว่าเราทำอะไรได้บ้าง กลัวจะถูกใช้งานหนัก และโดนเอาเปรียบ”
  3. ผู้นำที่เย่อหยิ่ง + ผู้ตามที่มีแต่ความกลัว = การแสวงหาผลประโยชน์
    มักจะนำไปสู่เหตุการที่ผู้นำมักกำหนดวิธีการให้กับผู้ตาม โดยเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกกลัวของผู้ตาม ซึ่งสุดท้ายไม่น่าส่งผลดีนะ
    ตัวอย่าง “เจ้านายที่มักตีสนิทกับลูกน้องที่มีผลประโยชน์กับตัวเองเท่านั้น”
  4. ผู้นำที่มีความกลัว + ผู้ตามที่เย่อหยิ่ง = ความเจ้ากี้เจ้าการ
    เมื่อผู้นำที่ไม่มีความมั่นคง แน่วแน่ พยายามใช้อำนาจเพื่อบังคับให้เกิดความร่วมมือของผู้ตามที่ดื้อ ผลที่ได้คือความเสียหาย
    ตัวอย่าง “หัวหน้าที่จู้จี้ มาเจอกับลูกน้องที่อีโก้สูง จนบางครั้งแกล้งยอมทำตามคำสั่งผิดๆของหัวหน้า ทั้งๆที่รู้ดีว่าจะเกิดปัญหา”

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้ายังเลือกไม่ได้สักข้อ เพราะไม่ตรงสักข้อ ลองดูลักษณะของผู้นำแบบสุดท้ายกันครับ

ผู้นำทีมีหัวใจทำเพื่อผู้อื่น + ผู้ตามที่มีหัวใจทำเพื่อผู้อื่น = ผลลัพธ์ที่ได้คือความสัมพันธ์ที่ดี อันเป็นรากแก้วแห่งความยั่งยืนในการพัฒาองค์กร
ก่อให้เกิดความเชื่อถือกัน ความคิดสร้างสรรค์ และสถานการณ์ที่เรียกว่า win-win situation

เช่น “BIM Manager ที่ประชุมสรุปหารือกับทีมงาน เพื่อให้ได้วิธีการทำ BIM Protocal ที่ดีที่สุดขององค์กร”
ไว้บทความหน้าจะมาขยายความให้ฟังครับ

God Bless

You may also like...

Popular Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *